Friday, February 22, 2008

ฟห

ตามที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนองค์การสวนสัตว์เข้าร่วมประชุม “จัดทำนโยบาย มาตรการ และแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2551-2555” เมื่อวันอังคาร ที่ 4 กันยายน 2550 ที่ประชุมได้หารือในหลายประเด็น (ตามกำหนดการและเอกสารประกอบการประชุมที่แนบมาท้ายนี้) จนแล้วเสร็จ โดยได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานกลับไปทบทวนร่างนโยบายฯ ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยได้นัดหมายการประชุมครั้งต่อไปในวันพุธ ที่ 26 กันยายน 2550
ในการประชุมครั้งนี้ ดร.เศรษฐพันธ์ กระจ่างวงศ์ จากกองกิจการเพื่อการพัฒนา กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้มาแนะนำถึง “โครงการสนับสนุนภารกิจต่างประเทศแบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2551” ซึ่งมีเงินทุนอยู่ 500 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถจัดสรรเงินทุนให้ได้ทุนละไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยมีข้อแนะนำคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

1. เป็นโครงการแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับอีกหน่วยงานหนึ่ง โดยในการดำเนินการโครงการต้องให้กระทรวงการต่างประเทศมีส่วนร่วมด้วย เช่น จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ เชิญวิทยากรต่างชาติ จัดจ้างล่าม-ผู้แปล หรือจัดพิมพ์หนังสือประชาสัมพันธ์เป็นต้นวัตถุประสงค์โครงการควรมีความเกี่ยวเนื่องกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจงใส่บทนำของบทความแทนที่ประโยคภาษาไทยนี้ จงใส่เนื้อความที่เหลือของบทความแทนที่ประโยคภาษาไทยนี้ Read more!

คณะกรรมการชมรม

คณะกรรมการชมรมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ประจำปี 2549-2550
ประธานชมรม นายสัตวแพทย์วิศิษฏ์ วิชาศิลป์
(ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต)
ที่ปรึกษาชมรม นายสัตวแพทย์สุเมธ กมลนรนารถ(หมอเมธ)
(ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ องค์การสวนสัตว์)
นายสัตวแพทย์รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ (หมอต้อม)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
นายสัตวแพทย์มาโนชญ์ ยินดี (หมอฟุ้ง)
(นักศึกษาปริญญาเอก)
เลขานุการ นายสัตวแพทย์กานต์ เลขะกุล(หมอกานต์)
(สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์ดุสิต)
สัตวแพทย์หญิงอังคณา สมนัสทวีชัย(หมออัง)
(สัตวแพทย์ ส่วนวิชาการ องค์การสวนสัตว์)
สัตวแพทย์หญิงกัญช์ เกล็ดมณี(หมอผึ้ง)
(นักศึกษาปริญญาโท)
เหรัญญิก สัตวแพทย์หญิงขวัญใจ กาญจนพิทักษ์กุล(หมอขวัญ)
(สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์ดุสิต)
วิชาการ นายสัตวแพทย์คณิต ชูคันหอม
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
นายสัตวแพทย์พรชัย สัณฐิติเสรี(หมอรัก, หมอกล้วยขาว)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
นายสัตวแพทย์เฉลิมชาติ สมเกิด(หมอนิน)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
สัตวแพทย์หญิงวราดี พุทโกสัย(หมอเอ)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร)
สัตวแพทย์หญิงรศชงค์ บุญญฤทธิชัยกิต(หมอพุดซา)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
สัตวแพทย์หญิงฐนิดา เหตระกูล(หมอ ณ)
(สัตวแพทย์ประจำหน่วยสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
นายสัตวแพทย์อนุวัฒน์ วัฒนนรเศรษฐ(หมอบอล)
สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์
ทะเบียน สัตวแพทย์หญิงดารกา ทองไทนันท์
สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
สัตวแพทย์หญิงศุภลักษณ์ แก้วขวัญ
อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ประสานงาน นายสัตวแพทย์เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล
สัตวแพทย์ประจำสัตวแพทย์ 4 โพลีคลินิก
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 1 นายสัตวแพทย์พีรพร มณีอ่อน
แม่บ้านเคี่ยวเข้ม 1 สัตวแพทย์หญิงดารกา ทองไทยนันท์
สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 2 นายสัตวแพทย์เจษฎา แถวเนิน
สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
แม่บ้านเคี่ยวเข้ม 2 สัตวแพทย์หญิงศุภลักษณ์ แก้วขวัญ
อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 3 สัตวแพทย์หญิงอุมาพร ใหม่แก้ว
ศึกษาต่อระดับปริญญาโท
แม่บ้านเคี่ยวเข้ม 3 สัตวแพทย์หญิงวัลยา ทิพย์กันทา
สัตวแพทย์ ส่วนวิชาการ องค์การสวนสัตว์
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 4 สัตวแพทย์หญิงกฤตกานดา ศรืคำซาว
สัตวแพทย์ ประจำหน่วยสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
แม่บ้านเคี่ยวเข้ม 4 สัตวแพทย์หญิงฐนิดา เหตระกูล
ศึกษาต่อระดับปริญญาโท
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 5 นายสัตวแพทย์นิธิดล บูรณพิมพ์
ศึกษาต่อระดับปริญญาโท
แม่บ้านเคี่ยวเข้ม 5 นายสัตวแพทย์ยุทธมล ม่วงคราม
สัตวแพทย์ประจำศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล เกาะมันใน จ.ระยอง
WEBSITE นายสัตวแพทย์มาโนชญ์ ยินดี
ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
สัตวแพทย์หญิงนลิน อารียา
อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สัตวแพทย์หญิงกฤตกานดา ศรืคำซาว
สัตวแพทย์ ประจำหน่วยสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
จดหมายข่าว สัตวแพทย์หญิงวรรณา ศิริมานะพงศ์
สัตวแพทย์หญิงภาวิณี เจริญยงอยู่
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


นายสัตวแพทย์อนุวัฒน์ วัฒนนรเศรษฐ(หมอบอล)
(สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์)
ทะเบียน สัตวแพทย์หญิงดารกา ทองไทนันท์ (หมอดาว)
(สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์เปิดเขาเขียว)
สัตวแพทย์หญิงศุภลักษณ์ แก้วขวัญ (หมอปุ๋ม)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร)
ประสานงาน นายสัตวแพทย์เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)
(สัตวแพทย์ประจำสัตวแพทย์ 4 โพลีคลินิก)
WEBSITE นายสัตวแพทย์มาโนชญ์ ยินดี (หมอฟุ้ง)
(ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก)
สัตวแพทย์หญิงนลิน อารียา (หมอนลิน)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
สัตวแพทย์หญิงกฤตกานดา ศรืคำซาว (หมอเนม)
(สัตวแพทย์ ประจำหน่วยสัตว์ป่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
จดหมายข่าว สัตวแพทย์หญิงวรรณา ศิริมานะพงศ์ (หมอกบ)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล )
สัตวแพทย์หญิงภาวิณี เจริญยงอยู่ (หมอมด)
(คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล )
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 1 นายสัตวแพทย์พีรพร มณีอ่อน (หมอล็อต)
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 2 นายสัตวแพทย์เจษฎา แถวเนิน (หมอกล้วย)
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 3 สัตวแพทย์หญิงอุมาพร ใหม่แก้ว (หมออุ๊)
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 4 สัตวแพทย์หญิงกฤตกานดา ศรืคำซาว (หมอเนม)
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 5 นายสัตวแพทย์นิธิดล บูรณพิมพ์ (หมออาร์ม)
ประธานรุ่นเคี่ยวเข้ม 6 นายสัตวแพทย์โกสินทร์ ทองศรี (หมอน๊อต
จงใส่บทนำของบทความแทนที่ประโยคภาษาไทยนี้ จงใส่เนื้อความที่เหลือของบทความแทนที่ประโยคภาษาไทยนี้ Read more!

Wednesday, December 12, 2007

มิติใหม่ zoovetnetwork.com


เรียน ชาวชมรมทุกท่าน


ขณะนี้ทางทีมงานได้ทำการปรับปรุงรูปแบบของ www.zoovetnetwork.com ให้เป็นบล็อกแล้ว ลองกดลิงค์เข้าไปดูแต่ละบทความของ Specialist Group แต่ละส่วนนะครับ ขอชี้แจงรายละเอียดข้อดี ข้อด้อย และมูลเหตุความเป็นมาเป็นไปดังนี้


บล็อก เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่เน้นให้สามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย และสามารถออกความคิดเห็นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดสังคมของการเรียนรู้ และติดต่อสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น


ข้อดี

ใส่ข้อมูลบทความได้ง่ายขึ้น 

ผ่านทางเว็บบล็อกโดยตรง 

ส่งทางอีเมล์ปกติเข้าเว็บบล็อก โดยไม่ต้องล็อกอินเป็นพิเศษหรือรู้จักการเขียนโปรแกรมใดๆ

สามารถให้หลายคนช่วยกันโพสต์ได้ 

Specialist Group แต่ละกลุ่มรับผิดชอบบล็อกของตัวเองไป เกิดความภาคภูมิใจ ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน

Update ได้บ่อยขึ้นโดยอิสระ โดยไม่ต้องรอ webmaster ส่วนกลาง

สามารถ Comment บทความได้โดยง่าย

ทำให้เป็น interactive อาจมีการแนะนำ เสนอแนะประสพการณ์ทางวิชาการแตกต่างออกไปของแต่ละคน เกิด พัฒนาการทางวิชาการร่วมกัน

ทำให้ผู้เขียนบทความมีกำลังใจว่ามีคนอ่านและตอบโต้

สามารถผนวกรูปถ่าย หรือวีดิโอ YouTube ได้โดยง่ายและไม่จำกัดจำนวน

ทำให้น่าอ่าน น่าดูมากขึ้น 

ภาพถ่ายและวีดิโอทำให้สื่อสารได้กระจ่างชัดขึ้น

สามารถใส่ลูกเล่นใหม่ๆ ได้ เช่น ทำโพลให้โหวต ใส่เสียง ฯลฯ

Blogger ดำเนินการโดยบริษัทเดียวกันกับ Google จึงมีโอกาสถูก search เจอใน Google ได้ง่ายขึ้น ทำให้ชมรมเรา เป็นที่รู้จัก ข้อมูลทางวิชาการเป็นประโยชน์แพร่หลายมากขึ้น

ฟรี


ข้อเสีย

หลายคนช่วย ถ้าบริหารไม่ดีก็วุ่นวายหรือผิดพลาดได้ง่ายขึ้น

อาจมีประเด็น comment ที่ไม่เหมาะสมได้ 

สามารถแก้ได้โดยให้เฉพาะสมาชิก comment หรือบางประเด็นอาจไม่ให้ comment

ช่วยกัน post ถ้าไม่ระวัง คุณภาพ ความถูกต้องทางวิชาการอาจไม่เต็มร้อย

ให้ผู้ post บทความวิชาการใส่ชื่อ นามสกุลจริง ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เป็นความรับผิดชอบในลักษณะ จรรยาบรรณทางวิชาชีพ (Professional Accountability) เราต้องให้เกียรติเชื่อใจผู้เขียนด้วย

หัวหน้าและสมาชิก Specialist Group เป็นผู้รับผิดชอบความถูกต้อง ผู้อ่านช่วยกันสอดส่องและ comment

ระยะแรกหากมีข้อผิดพลาดบ้างก็เป็นบทเรียนร่วมกัน จะได้เรียนรู้การทำงานและแก้ไข แต่ถ้าไม่กล้าที่จะลงมือ ทำ ไม่กล้าที่จะร่วมกันรับผิดชอบ ก็จะไม่เกิดพัฒนาการทางวิชาการ

ไม่สวย ไม่เนี๊ยบ อ่านยาก มั่วไปหมด ฯลฯ 

รู้และเข้าใจครับ แต่ตอนนี้อยากเน้นให้เกิดสังคมของการเรียนร่วมกันก่อน เชื่อว่าในอนาคตจะมีสมาชิกที่เก่งๆ มาอาสาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก


คณะทำงานเว็บไซต์

คณะทำงานส่วนกลาง หมอต้อม หมอฟุ้ง หมอกานต์ 

www.zoovetnetwork.com หมอฟุ้ง หมอมด หมอกานต์

NewsZVN ข่าว/ประชาสัมพันธ์ หมอมด หมอน๊อต

BirdZVN นก หมอเกษตร หมอพุทรา

MammalZVN สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมออ้อย หมอปุ๋ม

HerpetoZVN สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทิน หมอต้น หมอโตโต้

AquaticZVN สัตว์น้ำ หมอ ณ หมอสน

ZooZVN สวนสัตว์และสัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย หมอดาว หมออัง

WildlifeZVN สัตว์ป่าในถิ่นอาศัยและสิ่งแวดล้อม หมอล๊อต หมอเฟิร์น


วิธีการดำเนินงาน

www.zoovetnetwork.com จะเป็นแค่โครงเพื่อลิงค์ไปสู่บล็อก โดยจะมีการใช้งานและ update เฉพาะ webboard

บล็อกนั้นแบ่งตาม Specialist Group โดยในเบื้องต้นมีผู้รับผิดชอบหัวข้อละ 2 คน ซึ่งต่อไปอาจมีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ Specialist Group นั้นๆ เห็นว่าเหมาะสม


แต่ละบล็อกนั้นยินดีต้อนรับบทความ ข่าวคราว ข้อคิดเห็น จากทุกๆ ท่าน ขอเชิญร่วมส่งเนื้อหาเหล่านั้นให้แก่ผู้รับผิดชอบบล็อกแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะเป็นผู้โพสต์เผยแพร่ในบล็อก


ผู้รับผิดชอบบล็อกมีหน้าที่พิจารณาบทความจากสมาชิก โดยดูความถูกต้องของเนื้อหา ภาษา ฯลฯ แล้วทำการโพสต์ลงบล็อก


หมายเหตุ

หัวข้อ Tips/Tricks เดิมยังไม่รู้จะใส่ตรงใหนหรือเปลี่ยนเป็นอะไรดี เพราะมันจิปะถะหลากหลาย แต่ก็ไม่อยากให้แบ่งกลุ่มย่อยเล็กไปหมด ใครมีไอเดียช่วยแนะนำด้วย


ขณะนี้กำลังศึกษารูปแบบเลย์เอาท์และฟอนท์อยู่ คาดว่าภายใน 1 สัปดาห์คงตัดสินใจและจัดรูปแบบทุกหน้าเสร็จสิ้น


กำลังพิจารณาเพิ่มบล็อก MemberZVN เพื่อเผยแพร่ข่าวภายในชมรม ซึ่งจะเข้าอ่านได้เฉพาะสมาชิก


ถึงผู้รับผิดชอบบล็อก 

โปรดสมัคร email ของ www.gmail.com เพื่อจะใช้เป็นรหัสผ่านในการเข้าแก้ไขบล็อกของท่าน เมื่อท่านมี email ???@gmail.com แล้วให้แจ้งมาที่คณะทำงานกลาง zvneditor@gmail.com เพื่อลงทะเบียนในบล็อกนั้นๆ

รายละเอียดการใช้งานจะแจ้งตามมาอีกทีหนึ่งครับ



Read more!

อ่านกันขำๆกับเคี่ยวเข้ม 6

อ่านกันขำๆกับเคี่ยวเข้ม 6

อ่านกันขำ .... กับเคี่ยวเข้ม6

และแล้วก็สำเร็จไปอีกครั้งหนึ่งสำหรับค่ายเคี่ยวเข้มบัณฑิตใหม่หมอสัตว์ป่าครั้งที่ 6 เหล่าพลพรรคน้องหมอเคี่ยวเข้มรุ่นใหม่คงได้รู้ซึ้งถึงรสชาติของความเมามัน(จนมึนงง!!!!) ของเนื้อหาที่เหล่าบรรดาพวกพี่ๆทั้งเคี่ยวเก่าและเคี่ยวเก๋าได้งัดกลเม็ดเคล็ดลับวิชาออกมาสอนน้องๆในครอสนี้ ซึ่งน้องแต่ล่ะคนคงได้รับความรู้กันอย่างเต็มที่ตั้งแต่วันแรกของการเรียนการสอน โดยประเดิมความเข้มข้นของการอบรมด้วยการทำข้อสอบ pretest ซึ่งน้องๆแต่ละคนมีความตั้งใจกันมากถึงแม้ว่าจะยังคงแฮ้งไม่หาย(มันเกิดอะไรขึ้น?????) หลังจากสอบเสร็จเราก็เริ่มเข้าสู่การเรียนการสอนกันอย่างทันควัน โดยที่น้องๆมีความตั้งใจกันเป็นอย่างมาก อาทิเช่นน้องนิดเริ่มต้นเรียนปุ๊บน้องแกก็หลับทันทีโดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น หรืออย่างน้องแป๊บ น้องเอ๋ พี่บอย น้องเอ็ม น้องฟ้า น้องบอล(หรือลุงที่เพื่อนๆเรียกกัน)ฯลฯ ที่รวมพลละลายพฤติกรรมด้วยน้ำอัมฤทธิ์ตั้งแต่วันแรกที่เจอหน้ากัน(คุ้นๆเหมือนพี่เคี่ยวก่อนๆเลย) พอถึงเวลาเรียนน้องๆเค้าก็ยังสามัคคีกันไม่เลิกด้วยการไปเข้าเฝ้าพระอินทร์พร้อมๆกันทั้งหมด แต่ที่เด็ดสุดคงต้องยกให้กับหนึ่งเดียวจากเกษตรศาสตร์คือน้องไวกลิ้ง เพราะไม่รู้ว่าน้องเค้าจำวันผิดหรือมัวแต่แวะไปลาสาวๆในสังกัด(?...) ทำให้น้องเค้ามาไม่ทันอบรมในวันแรกแถมมาด้วยอาการงงๆกับชีวิตนึกว่าพวกพี่ๆล้อกันเล่นอีก(ให้มันได้อย่างงี้!!!!!) ส่วนน้องผู้หญิงที่สุดเด็ดและเด็ดสุดซึ่งก็ไม่ยอมน้อยหน้ากันโดยเฉพาะตอนที่พี่เค้านัดน้องๆมาถ่ายรูปเดี่ยวต้องยกให้ทั้งน้องเจี๊ยบกับน้องจิ๊บ (สวยที่สุดกับสุดที่จะสวย) กว่าจะได้รูปที่เอ็กซ์สมใจน้องแกก็เล่นเอาพี่คนถ่ายรูปเมื่อยไปเลยเพราะกว่าจะหามุมที่สวยที่สุดเท่าที่จะหาได้นั้นมันยากมากๆ(พี่ล้อเล่นนะ...) เรื่องของอาหารกลางวันปีนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยถูกปากใครหลายๆคนแต่พี่ก็ไม่เคยเห็นเลยว่าอาหารในแต่ละมื้อจะเหลือหรืออาจจะเป็นเพราะว่าปีนี้มีแต่น้องตัวเล็กๆ(XXL) ก็เลยทำให้อาหารหมดลงอย่างรวดเร็ว เรื่องของขนมเบรกในปีนี้ยังคงเป็นขนมไทยโบราณ (เหมือนคนสั่ง.....อิอิ)ที่เปลี่ยนรูปแบบของความอร่อยมาให้เราได้กินกันทุกวันส่วนที่พักจัดได้ว่าไฮโซมากๆคือได้พักห้องแอร์ บรรยากาศก็แสนจะสบายได้พักบนยอดเขาสูงแถมก่อนขึ้นไปถึงที่พักทุกวันพี่โยก็พาน้องๆผู้ชายไปส่ง(หวาด)เสียวได้อย่างถึงใจ เตียงนอนก็แสนจะกว้างขวางไม่เชื่อถามน้อง A-koดูได้เพราะเตียงอื่นเค้านอนกันสองคนยกเว้นน้องเค้าคนนี้แหละ (อิอิ) ส่วนน้องน็อต(ประธานเคี่ยวเข้ม6) ถึงแม้จะงงๆกับชีวิตตลอดเวลาแต่ทว่าน้องเค้าก็มีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นอย่างดีถึงขั้นตอบคำถามแบบงงๆให้ผู้สอนงงตามไปด้วย(เฮ้ย...หลายงงแล้วนะ!!!!)กลับมาที่ครอสของการเรียนในปีนี้ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อหาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องสัตว์ปีกที่น้องๆให้ความสนใจกันอย่างแรง จะเห็นได้จากการถามตอบของน้องกวางผู้มีความชื่นชอบเรื่องของการดูนก(เขา)โดยมีการแลกเปลี่ยนกันดูเอ้ย!ความรู้ กับพี่พุดทราได้เป็นอย่างดี     ในขณะที่น้องทิพ น้องเก้และน้องเพลิน ก็จะแข่งกันจดเนื้อหาที่เรียนอย่างขะมักเขม้น (เพราะกลัวขาดทุน...ปล.ก็ตั้ง3000นี่พี่!!!!!)   ส่วนด้านน้องใหญ่พี่ก็เข้าใจนะว่าตอนนั่งเรียนน้องคงอึดอัดน่าดูก็ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา(รวมทั้งตรงที่น้องเค้านั่ง)มีแต่XXLทั้งนั้น ส่วนรางวัลหญิงเหล็กปีนี้คงต้องยกให้กับน้องฝนเพราะน้องเค้าสามารถยกประตูห้องlabได้อย่างสบายโดยไม่ต้องใช้ตัวแสดงแทน(555) และน้องที่จัดว่าเป็นคนที่โลกส่วนตัวสูงคงต้องยกให้น้องเฟิร์นเพราะน้องเค้าจะชอบพูดคนเดียวอยู่เรื่อยพี่เห็นเดินบ่นกับไอ้กล่องเล็กๆดำๆเป็นประจำเลยไม่รู้ว่าน้องเค้าพูดกะใครซึ่งก็จะคล้ายๆกับน้องอู๋ที่เวลาส่วนใหญ่ของน้องเค้าก็จะหมดไปกับการนอน(แข่งกับน้องนิดได้สบาย) ถึงวันงานเลี้ยงระหว่างค่ายจะสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัดว่าน้องๆแต่ละคนจะมีความตื่นตัวกันค่อนข้างสูงไม่รู้ว่าเพราะความเมามันของเนื้อหาที่เรียนหรือการตั้งตารอคอยน้ำอัมฤทธิ์ที่เป็นที่ปรารถนาของน้องๆ(และพี่ๆ)กันแน่แต่ที่รู้ๆก่อนที่เวลาของความสนุกจะมาถึงน้องๆก็จะต้องมาฝ่าด่านที่สุดจะหินของข้อสอบ midterm ที่ออกโดยพี่ผู้สอนทำเอาน้องหลายคนถึงกับต้องกุมหัว(ไม่ได้เครียดเรื่องข้อสอบนะแต่น้องเค้าคิดถึงเรื่องของกินตอนงานเลี้ยงต่างหาก.....)พอถึงเวลางานเลี้ยงก็มีบรรดาพี่ๆตั้งแต่รุ่นก่อนเคี่ยวจนถึงพี่เคี่ยวรุ่นปัจจุบันมารวมตัวกันเพื่อทำความรู้จักกับน้องๆเคี่ยว 6 ซึ่งงานเลี้ยงก็เป็นไปอย่างเมามันทั้งน้องและพี่ โดยเฉพาะพี่ต่างตัวแทนจากเคี่ยว 5ที่โด่งดังจากเพลง zombiesในปีที่แล้วก็กลับมาลำลึกถึงเพลงนี้อีกครั้งในปีนี้ซึงก็เป็นที่ชื่นชอบของทั้งพี่ๆน้องๆทั้งหลายและการสลับกันขึ้นมาร้องเพลงของบรรดาเคี่ยวเข้มอีกหลายๆรุ่นโดยงานเลี้ยงก็เป็นไปอย่างสนุกสนานตั้งแต่เริ่มงานจนจบงานภายหลังงานเลี้ยงเลิกทั้งน้องและพี่ก็พากันเดินตัวเอียงกลับที่พักไปแบบไร้สติ(ม่ายเมานะเว้ย!!!!!)

เข้าสู่การเรียนการสอนช่วงหลังซึ่งน้องๆก็ยังคงให้ความสนใจกับการเรียนกันเป็นอย่างดีจะสังเกตได้จากกระดาษแปะหลัง(ข้อความถึงน้องที่นอนหลับระหว่างเรียน)ที่มีกันเกือบครบทุกคนซึ่งแสดงถึงความตั้งใจเรียนอย่างแรงกล้าของน้องๆ(พี่ๆน้ำตาจะไหล......!!!!!!)แต่ยังไงๆก็ถือว่าเป็นการเรียนการสอนที่ผ่านไปได้ด้วยดี จนถึงวันงานเลี้ยงปิดค่าย ซึ่งปีนี้ก็มีปรากฏการณ์พิเศษขึ้นมาอย่างหนึ่งคือมีบรรดาพวกพี่เคี่ยวรุ่นเก่าๆอาทิเช่นพี่ต้อม พี่ฟุ้งและพี่ๆอีกหลายคน(พี่จำไม่ได้หรอกเพราะเมาหลับไปแล้ว.....)มาตั้งโต๊ะ(หมู่บูชา)นั่งพูดคุยกับน้องๆเคี่ยวซึ่งก็ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพี่เคี่ยวเก่ากับน้องเคี่ยวใหม่ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วงานเลี้ยงก็ต้องมีวันเลิกราพอเข้าสู่วันสุดท้ายของครอสที่เริ่มต้นด้วยการเรียนการสอน (โดยพี่เอที่มีความสามารถในการนอนหลับขณะที่สอนได้) และปิดท้ายด้วยการสอบ final ซึ่งน้องๆก็มีการเตรียมตัวสอบมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาที่แสนจะเคร่งเครียด (เนื่องจากเมาค้าง!!!!!) หรือถึงขั้นเขียนกันมันส์มากจนปากกาหลุดมือไปเลย (หลับระหว่างทำข้อสอบ!!!!!) พอผลตรวจข้อสอบออกมาพี่ๆก็ถึงขั้น ตะลึง!!!!! ในผลคะแนนที่ได้เนื่องจากน้องๆได้คะแนนดีกัน(ไปหมด)ทุกๆคนจนพี่ๆต้องตั้งชื่อให้น้องๆรุ่นนี้ว่า เคี่ยว ต(ล)ก ทั้งรุ่น 

ท้ายที่สุดของการเข้าครอสครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้หรือการแนะนำแนวทางในทำงานของหมอสัตว์ป่าก็ขอให้น้องๆได้นำความรู้ในส่วนนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อคนและสัตว์ที่เราต้องดูแล ส่วนพี่เองก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยากฝากเอาไว้ให้เป็นข้อคิดสำหรับน้องหมอที่ต้องการจะเดินทางร่วมกันในสายวิชาชีพนี้คือการที่เราได้จบเป็นหมอแล้วนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นจุดสิ้นสุดของการเดินทางในสายอาชีพหมอสัตว์ป่า แต่มันพึ่งจะเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นในวิชาชีพที่เรายังจะต้องเดินทางไปอีกไกลเพื่อเพิ่มเติมความรู้และจิตสำนึกอันดีในการทำงานของเราทุกๆคน ซึ่งพี่หลายๆคนก็หวังเอาไว้ว่าน้องทุกคนจะค่อยๆก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆโดยแต่ละก้าวนั้นก็ขอให้เป็นการเดินทางที่เป็นไปได้อย่างมั่นคงซึ่งพี่เองก็หวังอยากให้เป็นเช่นนั้น  ชมภาพได้ที่ http://www.zoovetnetwork.com/index.php?lay=show&ac=photo

 

                                                                                                                             ขอให้น้องๆโชคดี 

                                                                                                 พี่โย(Vet64. เคี่ยวเข้ม5)

Read more!

เคี่ยวเข้ม 5

เคี่ยวเข้ม 5

 

เคี่ยวเข้มปีนี้มีพี่เลี้ยงมากมาย มากกว่าปีที่แล้ว (ที่ว่าเยอะแล้ว) เลยทำให้ทีมแม่บ้านเคี่ยวเข้ม ที่นำทัพโดยหมอดาว ไม่เหนื่อยมาก  มีทั้งพี่ที่อยู่ยาวอย่างทีมเขาเขียว หมอต้อม หมอจอย มช. หมออุ๊ หมอเอ หมอเนม หมอนิค หมอจอยประทับช้าง หรือพี่ที่เป็นนินจา ผลุบๆ โผล่ๆ อย่าง หมออัง หมอขวัญ เขาดิน หมอต๋อง หมอพุดซา หมอขวัญ มหิดล หมอบี หมอล็อต หมออ้อย หมอณ หมอนก หมอนุ้ย หมอสน และอื่นๆที่อาจจะตกหล่นไป รวมทั้งพี่ๆวิทยากรทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือเป็นอย่างดี

   อาหารการกินปีนี้ปีนี้ก็ยังอุดมสมบูรณ์เช่นเคย ทั้งอาหารคาว อาหาร break โดยเฉพาะขนมถ้วยถูกใจมากๆ งานนี้ต้องขอบคุณน้องนิคเนม คู่ขวัญจากเคี่ยวเข้ม 4? ที่ช่วยกันล้างแก้วน้ำให้พวกเรา

            ปีนี้มีน้องมาเคี่ยวเข้ม 21 คน เป็นหมอที่ทำ field สัตว์ป่าแล้ว3 คน และที่สำคัญปีนี้เคี่ยวเข้มได้โกอินเตอร์ตามกระแสด้วยการมี (ว่าที่) หมอจากญี่ปุ่น “Sachiko” มาร่วมด้วย ทำให้น้องๆ ได้ฝึกภาษาสากล ( โดยเฉพาะภาษามือ ) กันเป็นทิวแถว

            เริ่มต้นปีนี้เราก็มี pre-test สุดสยอง เขย่าขวัญน้องๆตั้งแต่เริ่ม ตารางที่ติดไว้ข้างห้องนั้น มีเครื่องหมายถูกมากมาย ใครๆก็เข้าใจว่าผ่านกันหมด แต่ที่ไหนได้ ที่ถูกคือไม่ผ่าน เล่นเอาน้องๆหวาดหวั่น

            น้องๆ (โดยเฉพาะผู้ชาย) สนิทกันเร็วมากๆ เพราะมีกิจกรรมดื่มน้ำละลายพฤติกรรมเกือบทุกวัน บางคืนก็จะมีพี่ๆไปร่วมแจมด้วยเป็นที่ครื้นเครง เนื่องจากปีนี้เราไม่ค่อยมีโปรแกรมเลิกดึก รวมทั้งการประชุมสรุปงานก็เป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าทุกปี ไม่ค่อยเกินเที่ยง ทำให้พี่ๆไปละลายพฤติกรรม  กับละลายตับ กับน้องได้สบาย Lipochol โรงพยาบาลสัตว์ หายตรึม



            หน้าที่ OD (ที่ย่อมาจากอ้วนดำ?) ของปีนี้ก็ผลักเปลี่ยนกันทุกวัน เหมือนเคย ช่วงท้ายๆหมออ้อยเป็นฮีโร่ ทำหน้าที่หลายวัน โดยไม่เกี่ยงงอน ขอให้บอกเถอะ

            มาถึงช่วงเวลาสำคัญของเคี่ยวเข้มกันดีกว่า ถึงเวลาปาร์ตี้แล้ว ปีนี้พี่ๆมาน้อยกว่าปีที่แล้ว มีหมอโอมและหมอดาวเป็นพิธีกรสัมภาษณ์พี่ๆจากแต่ละสายงาน เป็นที่สนุกสนาน น้องๆพี่ๆเมามายกันเป็นแถว โดยเฉพาะน้องต่างกับเพลง Zombie ทำเอาพี่ๆจำได้ไม่ลืม จนคืนนั้นเจ้าตัวต้องนอนที่โรงพยาบาล อย่าตกใจไป ก็ที่โรงพยาบาลเขาเขียวนั่นแหละ ฝ่ายพี่ๆ ส่งหมอกล้วยเข้าประกวด เพราะพูดเก่งกว่าทุกที ใครไม่รู้นึกว่าอยู่ในม็อบ สนธิ เช้าวันอาทิตย์ที่เป็นวันช้างทุกคนก็มีอาการ hang over กันหมด

            เรียนกันมาเรื่อยๆ จนถึงวันท่องเที่ยว ออกไปทัศนศึกษา ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง ปีนี้สนุกสนานเพราะตามด้วยการไปเที่ยวพัทยาซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุรัก (รึเปล่า) ระหว่างงน้องผึ้งกับน้องโย จนฝ่ายหลังถึงขั้นหัวแตกเลยทีเดียว 

            วันเสาร์หลังแจกใบประกาศ ก็หาประธานรุ่น ปีนี้ได้น้องอาร์ม มาทำหน้าที่ โดยมีเลขาเป็นสาวตัวเล็ก อย่างน้องผึ้ง ปาร์ตี้อำลา เริ่มงานด้วยพี่หมอสุเมธขึ้นมาเล่าเรื่องราวประสบการณ์ ต่อด้วยหมอต้อม และหมอดาว ที่ช่วยกระตุ้น สร้างกำลังใจอย่างมาก ตามด้วยพี่ๆทุกคน หน้าที่พิธีกรงานนี้ก็คือ หมออ้อย เจ้าเดิม ปีนี้นับเป็นความภาคภูมิอย่างยิ่งที่พี่หมอเมธมาร้องเพลงให้พวกเราฟัง พอตกดึกก็ยิ่งคึกคัก พี่ๆ ป้าด้านหลัง dance กระจาย เล่นเอาน้องๆอาย ต้องตามมาแจม งานเลี้ยงนี้ไม่เช้าไม่เลิก ยังไปต่อกันที่บ้านน้องจนย่ำเช้า      เช้าวันอาทิตย์ ผู้ที่ตื่นไหวก็มาเก็บของ เก็บห้อง แจกหนังสือรุ่นและ CD ให้น้อง ก่อนจะแยกย้ายกันกลับไป แต่น้องๆเคี่ยว 5 ที่แน่นหนาไม่เหน็ดเหนื่อย ได้นัดปาร์ตี้กันอีกตอนเย็นและแล้วนัดสำคัญของชาวชมรมฯ ก็ผ่านไป นัดสำคัญของเราปีหน้าหวังว่าจะมีพี่ๆน้องๆมาช่วยกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งอีกเช่นเคยเด้อ



 






By: พุดซา เคี่ยวเข้ม 3


Read more!

ชมรมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ( ส.ส.ส.ท. )

ชมรมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ( ส.ส.ส.ท. )

 

 

 




ชมรมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ( ส.ส.ส.ท. )

ชมรมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ( ส.ส.ส.ท. ) 
The Zoo and Wildlife Veterinarian Society of Thailand ( Z.W.V.S.T. ) 

ประวัติการก่อตั้ง 
• เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 และจัดตั้งเป็นชมรมเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 9 คน 

วัตถุประสงค์ เพื่อ 
1) ส่งเสริมวิชาชีพสัตวแพทย์เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ในสวนสัตว์และสัตว์ป่าทั่วไป 
2) รักษาสิทธิอันชอบธรรมของสมาชิก ซึ่งไม่ขัดต่อจรรยาบรรณของวิชาชีพสัตวแพทย์ 
3) ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ป่าในสวนสัตว์และสัตว์ป่าทั่วไป 
4) เป็นศูนย์รวมเพื่อพบปะ สังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ในแขนงวิชาต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาชีพ อีกทั้งเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปตามโอกาสอันควร 
5) ให้ความร่วมมือกับสถาบัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์สัตว์ป่า 
6) ให้ความร่วมมือกับสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย และ 
สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย 

ที่ตั้งปัจจุบัน 
• แผนกบำรุงรักษาสัตว์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตู้ ปณ. 6 ปท.บางพระ ชลบุรี 20210 โทร/โทรสาร 038-298-187 

สมาชิกภาพ 
1) สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้ได้รับปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งภายใน และ/หรือ จากต่างประเทศ ซึ่งประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์อันเกี่ยวข้องกับสัตว์ในสวนสัตว์ หรือสัตว์ป่าทั่วไป สมาชิกสามัญมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารของชมรมฯ 
2) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งภายใน และ/หรือ จากต่างประเทศ ซึ่งมีความสนใจในวิชาการทางด้านสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่า สมาชิกวิสามัญไม่มีสิทธิออกเสียงหรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารของชมรมฯ 
3) สมาชิกสมทบ ได้แก่ สถาบัน องค์กร ห้องสมุด หรือผู้ที่สนใจเรื่องของสวนสัตว์และสัตว์ป่า สมาชิกสมทบไม่มีสิทธิออกเสียง หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารของชมรมฯ 
4) สมาชิกทั้งสามประเภทจะได้รับเอกสารวิชาการ จดหมายข่าว การร่วมกิจกรรม เช่น ประชุม และสัมมนาทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ 
5) การพิจารณารับสมาชิก และพิจารณาให้หมดสมาชิกภาพ เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการดำเนินงาน 

ค่าบำรุงชมรม 
• สมาชิกสามัญ 800 บาท สมาชิกวิสามัญ 500 บาท สมาชิกสมทบปีละ 300 บาท ตลอดชีพ 
กิจกรรมที่ได้ทำมาแล้ว 
1) จดหมายข่าว เพื่อเป็นการเผยแพร่ข่าวสารในแวดวงสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่า และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการในด้านการสัตวแพทย์สัตว์ป่าและสวนสัตว์ 
2) ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสัตว์ป่าในสวนสัตว์ และสัตว์ป่าทั่วไป แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชนที่มีสัตว์ป่าอยู่ในครอบครอง 
3) เป็นแหล่งข้อมูลให้กับนักวิจัยสัตว์ป่า หรือนักชีววิทยา ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ป่า ในเรื่องที่ต้องใช้ประเด็นด้านสุขภาพสัตว์ประกอบ 
4) ประสานงานระหว่าง นักวิจัยสัตว์ป่า หรือนักชีววิทยา ที่ต้องการบริการวิชาการทางสัตวแพทย์สัตว์ป่าและสวนสัตว์ ทั้งในส่วนบุคลากรหรือห้องปฏิบัติการ 
5) จัดการฝึกอบรมคอร์สบัณฑิตใหม่หมอสัตว์ป่าประจำปี เพื่อให้การอบรมภาคสนามแก่บัณฑิตใหม่ที่กำลังจะไปเริ่มงานทางด้านสัตว์ป่าโดยตรงและผ่านการคัดเลือกมาจากแต่ละมหาวิทยาลัย 

กิจกรรมที่กำลังจะทำหรือกำลังทำ 
1) จัดประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่า เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการรักษาสัตว์ป่า แก่สมาชิกทั้งสามประเภท สองเดือนต่อหนึ่งครั้ง 
2) ร่วมกับสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย เพื่อ จัดฝึกอบรมให้แก่สัตวแพทย์ผู้ที่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาพสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์เลี้ยง 
3) จัดทำเว็ปไซด์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับสัตวแพทย์และประชาชนผู้สนใจทั่วไป 

ท่านจะได้อะไร เมื่อสมัครเป็นสมาชิก ชมรมฯ 
• จดหมายข่าว ZOO VET NEWS ซึ่งมีเนื้อหาในด้าน ; การจัดการสัตว์ป่าในกรงเลี้ยงแยกเป็นหัวเรื่อง การรักษาสัตว์ป่าที่เจ็บป่วย ยาและการรักษาสัตว์ป่าที่ได้ผล หรือ ไม่ได้ผล เทคนิคในการจับบังคับสัตว์ป่า ความรู้ปลีกย่อยในการเลี้ยงและการจัดการ ข่าวคราวในแวดวง การแนะนำหนังสือ ฯลฯ 
• มีสิทธิในการเข้าฟังและซักถามในการประชุมวิชาการทางด้านการสัตวแพทย์สัตว์ป่าและสวนสัตว์ ที่จะจัดขึ้น สองเดือนต่อหนึ่งครั้ง 
• สามารถขอข้อมูลจากชมรม หรือความช่วยเหลือจากสมาชิกชมรมฯ เพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า 

ติดต่อเพื่อสมัครได้ที่ 
• สัตวแพทย์หญิงดารกา ทองไทยนันท์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตู้ปณ. 6 ปท.บางพระ ชลบุรี 20210 โทร/โทรสาร 038-298-187 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 01 –373-4021 e-mail t_daraka@yahoo.com 


By: หมอต้อม

Read more!

รายชื่อหนังสือแต่ละมหาวิทยาลัย

รายชื่อหนังสือแต่ละมหาวิทยาลัย






รายชื่อหนังสือจากจุฬาฯ
Journal : 
1.      Journal of wildlife diseases
2.      The journal of zoo and wildlife medicine
3.      Laboratory primate newsletter
Textbook : 
1.      Non-human primates in biomedical research; Biology and management 1995
2.      Non-human primates in biomedical research;  diseases 1995
 
รายชื่อหนังสือจากมหาวิทยาลัยมหิดล
1.Atlas of Avian Radiographic Anatomy. 
         Stephen Bonnie J Smith. WB Sauder, Philadelphia. 1992
2.Atlas of Diagnostic Radiology of Exotic Pet. 
         GA Rubel, E Isenbugel and P Wolvekamp. Wolfe Publishing
         ltd, London. 1991.
3.Avian Medicine and Surgery. 
            Robert B Altman, Susan L Clubb, Gerry M Derrestein 
            and Katherine Q. WB Sauders.1997.
4.Restrain and Handing of Wildlife and Domestic Animals. 2nd edition. 1995.
5.Game Bird Breeding (handbook). 
         Allen Woodard.
6.Fish Disease. Diagnosis and treatment. 
         Edward J Noga. Mosby Year Book
 
รายชื่อหนังสือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1.      Wildlife research and management . 
         Author : Berwick and Saharia 1995. QL 84.5  A1  D48 1995
2. Avian Medicine 2000. SF 994 A 93 2000
3. Avian Medicine 1991. SF 5 P 76 V.178
4. Diagnosis treatment and husbandry of pet birds.
               Author : Stunkard,Jim A. SF 994.2  A1 S88 1984
5. Chemical immobilization of wild and exotic animal.
               1999.  QL 62.5 N546 1999 c3
6. Ferret,Rabbits and Rodent : Clinical medicine and surgery. 
         Author : Elizabeth V. Hillyer,SB 997.5 F7 H54 1997
7. Control reproduction in horse,deer and camelids .
               Author : Cordon, Ian. SF768.2 H67G671997
8. Diagnosis of disease of deer . 
         Author : English,A.W.1992 SF604 T43 Series B no.16
9. Camel : a compendium. 
         Author : Manefield,G.W. 1996 SF604 T43 series C no.22
10. Rabbit : a compendium. 
         Author : Walden,Neville B.1990  SF604 T43 series C no.13
11. Ostrich examination. 
         Author : Black, D.G. 1997 SF 511 B62 1997
12. Wildlife : The T.G. Hungerford refresher course for vet. 
         SF5  P76 V.233 1994
13. Camelids. 
         SF5  P 76 V.257 1995
14. Camelids medicine and surgery: in association with the Australian 
         SF5 P 76 V.278 1996
15. Disease of  deer. 
         Author : English,A.W. 1988 SF604 T 43 series A no.11
16. Urban wildlife. 1992. 
         SF 5 P 76 V.204
17. Reptile medicine and surgery. 
         Author : Douglas R.Mader 1996 SF 997.5 R4 R46 
18. Rabbit and rodent laboratory animal science.1990
               SF 5 P 76 V.142
19. Australian wildlife V. 104. 1994  
         SF 5 P 76 V.104
20. Manual of exotic pets 
         SF981 M26 c-1 1991.
21. Deer farming ,a practical guide to German techniques.
         Author : Gunter Reinken. SF 401 D3 R45 1990. ( ฉบับถ่ายเอกสาร )
22. Manual of avian medicine. 
         Author : Olsen A. orosz  SF994 O471 2000.
23. A week with elephants : proceedings of the international seminar on the conservation of Asian elephants. 
         Author : Daniel and Datye. QL737 P98 J67 1995.
24. Zoo and wild animal medicine : current therapy 4th ed.  
         Author :  Murray E. Fowler .SF 996 Z 66 1999
25. Manual of exotic pets. 
         Author : Peter H.Beynon.1998. SF 981 M26 1998
26. The land and wildlife of tropical asia . 
         Author : Dillon Ripley. QH179 R5 1965.
27. Reptile care, an atlas of disease and treatment 
         vol.1,2 SF 997.5 R 4 F79 vol.1,2 1991  ( REF.)
28. The laboratory Rabbit,1996. 
         Author : Mark A.Suckow. BR749 H79 G87.
29. The laboratory rat. 1998. 
         Author ; Patrick E.Sharp. BR849 H79 G52
30. Occupational health and safety in the care and use of reseach animal .     1997 
         RC965 A 6023
31. A color atlas of diseases of the crocodile. 1994.
 Panya Youngprapakorn.QL666 C 925 P 36  
32. Wildlife feeding and nutrition 2 nd ed. 1993.
   Chalres T. Robbins QL75605 R62
33. Anesthesia and analgesia in laboratory animals1997. 
         Author : Dennis F.Kohn. SF 996.5 A54 1997
34. Medical management of the elephant. 
         Author ; Susan K.Mikota ,1994  SF 997.5 E4 M54
35. The exotic animal drug compendium an international formulary.
         Author : Marx,Keath L.1996. SF 917 M27 1996 
36. Mammals of Thailand.
         Author : Boonsong Lekagul,1988 REF. QL 729 T 35 B6 c-2
37. Practical exotic animal medicine.1997 
         SF 981 P 72 
38. BSAVA Manual of raptors ,pigeons and waterfowl.
Author : Peter H.Beynon. 1996 SF 994 B 828
39. Farming wapiti and red deer,1993 
         Author :Haigh,Jerry C. SF 401 E4 H351993
40. Avian hematology and cytology.
         Author : Terry W.Campbell.1995 SF 994 C35 






41. Restraint and handling of wild and domestic animals.
         Author : Murray E.Fowler. 1995 QL 62.5 F68
42. The biology and medicine of rabbits and rodents 4th .1995 
         Author : John E.Hakness. SF 996.5 H 37 c-2 1995
43. Diseases of domestic rabbits. 1988 . Okerman Lieve. 
         SF 997.5 R2 032
44. Clinical avian medicine and surgery . Grey J.Harrison. 
         SF994.2 A1 H17 1986.
45. Caged bird medicine . Charles V. Steiner 
         SF 995 S7C-2 1981.
46. Zoo and wild animal medicine . Murray E. Fowler 
         SF 996 Z66 1978.
47. Infectious diseases of wild mammals. John W. Davis
SF 997 I 53 1981 C-2
48. Bird diseases . L .Arnall . 1975 
         SF 994 A 7 
49. Diseases of exotic animals . Joel D. Wallach 1983
SF 981 W 34 C-2
50. Roentgen techniques in laboratory animals. 1968
Benjamin Felson. SF 757.8 F 45
 
รายชื่อหนังสือจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. Companion bird medicine
2. The biology and medicine of rabbits and rodents
3. Zoo and wild animals medicine
4. Atlas of zoo animal pathology
5. Manual of exotic pets
6. A color atlas of disease of the crccodile
7. Wild is beutiful
8. A veterinarian guide to the parasites of reptiles-protozoa
9. Noninfectious disease of wildlife
10. Zoo medicine
11. Eencyclopedia 
 
รายชื่อหนังสือที่มีในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. Avian medicine and surgery / [edited by] Robert B. Altman ... [et al.] ; Ronald S. Futral, medical illustrator.  พิมพลักษณ์ Philadelphia : Saunders, c1997. 
2. Zoo & wild animal medicine / editor Murray E. Fowler.  
พิมพลักษณ์ Philadelphia : W.B. Saunders, c1993.  ครั้งที่พิมพ์ 3 rd ed 
3. Zoo & wild animal medicine / editor, Murray E. Fowler  
พิมพลักษณ์ Philadelphia : W.B. Saunders, c1986 ครั้งที่พิมพ์ 2nd ed 
4. Zoo & wild animal medicine / [editedby] Murray E. Fowler, R. Eric Miller  พิมพลักษณ์ Philadelphia : W.B. Saunders, c1999 ครั้งที่พิมพ์ 4th ed.
5. Fish medicine / [edited by] Michael K. Stoskopf ; original illustrations by Timothy H. Phelpsand Brent A. Bauer.  พิมพลักษณ์ Philadelphia : W. B. Saunders, c1993. 
6. The Merck veterinary manual / editor: Susan E. Aiello ; associate editor: Asa Mays  พิมพลักษณ์ Whitehouses Station, N.J. : Merck, 1998 ครั้งที่พิมพ์ 8th ed 
 7. Restraint and handling of wild and domestic ผู้แต่ง Fowler, Murray E
animals / Murray E. Fowler.  พิมพลักษณ์ Ames : Iowa State University Press, 1995. 
ครั้งที่พิมพ์ 2nd ed. 
8. Laboratory medicine : avian and exotic pets / edited by Alan M. Fudge  พิมพลักษณ์ Philadelphia : Saunders, c2000 
9. Reptile medicine and surgery / [edited by] Douglas R. Mader ; illustrations by Geoff Stein.  พิมพลักษณ์ Philadelphia : W.B. Saunders, c1996. 
10. A veterinary guide to the parasites of reptiles / Susan M. Barnard and Steve J. Upton  พิมพลักษณ์ Malabar, Fla. : Krieger Pub. Co.,1994-<2000> 
11. The Care of reptiles and amphibians in captivity / Chris Mattison.  
พิมพลักษณ์ London : Blandford, 1992. ครั้งที่พิมพ์ Rev. 3rd ed. 
12. Avian medicine / edited by Thomas N. Tully, Jnr., Martin P.C. Lawton, Gerry M. Dorrestein;foreword by John E. Cooper  พิมพลักษณ์ Oxford ; Boston : Butterworth-Heinemann, 2000 
13. Chemical immobilization of wild and exotic animals / Leon Nielsen  
พิมพลักษณ์ Ames : Iowa State University Press, 1999 ครั้งที่พิมพ์ 1st ed 
14. Avian Medicine and Surgery / B. H. Coles พิมพลักษณ์ London : Blackwell Science, 1997 ครั้งที่พิมพ์ 2nd ed 
15. Reptile clinician's handbook : a compact clinical and surgical reference / Fredric L. Frye  พิมพลักษณ์ Malabar, Fla. : Krieger Pub. Co., 1995 
16. Creative conservation : interactive management of wild and captive animals / edited by P.J.S. Olney, G.M. Mace, and A.T.C. Feistner  พิมพลักษณ์ London ; New York : Chapman & Hall, 1994 ครั้งที่พิมพ์ 1st ed 
17. Wildlife feeding and nutrition / Charles T. Robbins.  พิมพลักษณ์ San Diego : Academic Press, c1993. ครั้งที่พิมพ์ 2nd ed. 
18. Comparative avian nutrition / Kirk C. Klasing  พิมพลักษณ์ New York : Cab International, 1998   (คณะเกษตร)
19. Wild mammals in captivity : principles and techniques / editors, Devra G. Kleiman ... [et al.] ; managing editor, Holly Harris   พิมพลักษณ์ Chicago : University of Chicago Press, 1996
20. The encyclopedia of snakes / Chris Mattison พิมพลักษณ์ London : Blandford, 1998 
21. Frogs & toads of the world / Chris Mattison.  พิมพลักษณ์ New York, N.Y. : Facts on File, c1987.  (คณะวิทยาศาสตร์)
22. Krankheiten der Zoo und Wildtiere / herausgegeben von Reinhard Goltenboth und Heinz-Georg Klos  พิมพลักษณ์ Berlin ; Oxford : Blackwell Wissenschafts-verlag, 1995 
23. Investigation and management of disease in wild animals / Gary A. Wobeser  พิมพลักษณ์ New York : Plenum Press, c1994 
24. Care of the wild feathered & furred : a guide to wildlife handling and care / by Mae Hickman [and] Maxine Guy ; compiled and edited by Stephen Levine ; illustrated by David Haskins.  พิมพลักษณ์ London : Robson Books, 1994. 
25. Diseases of exotic animals : medical and surgical management / Joel D. Wallach, William J. Boever  พิมพลักษณ์ Philadelphia : W. B. Saunders, 1983 
26. Exotic animals : a veterinary handbook : a collection of articles from Veterinary technician.  พิมพลักษณ์ Trenton, N.J. : Veterinary Learning Systems, c1995. 
27. Infectious diseases of wild mammals / edited by Elizabeth S. Williams and Ian K. Barker  พิมพลักษณ์ London : Manson / Veterinary Press, 2001 ครั้งที่พิมพ์ 3rd ed 
28. Michigan wildlife diseases / Wildlife Division Department of Natural Resources State of Michigan  พิมพลักษณ์ East Lansing, Mich. : Wildlife Disease Laboratory Rose Lake Wildlife Research Center, [1990?]
29. Noninfectious diseases of wildlife / edited by Anne Fairbrother, Louis N. Locke, Gerald L. Hoff. พิมพลักษณ์ Ames, Iowa, USA : Iowa State University Press, 1996. ครั้งที่พิมพ์ 2nd ed. 






30. Guidelines for environmental enrichment  พิมพลักษณ์ West Sussex : Association of British Wild Animal Keepers, 1998 
31. Masterplanning zoo education : report of first South Asian Zoo Educator Course 7-12 August 2000, Kathmandu, Nepal / compiled & edited by Sally Walker  พิมพลักษณ์ Kathmandu : Zoo Outreach Organisation, 2000
32. Practical wildlife care for veterinary nurses, animal care students and rehabilitators / Les Stocker ; drawings by Tessa Eccles photographs by Les Stocker  พิมพลักษณ์ London : Blackwell Science, 2000 (สำนักหอสมุด)
33. Decline of the sea turtles : causes and prevention / Committee on Sea Turtle Conservation, Board on Environmental Studies and Toxicology, Board on Biology, Commission on Life Sciences, National Research Council.  พิมพลักษณ์ Washington, D.C. : National Academy Press , 1990. (สำนักหอสมุด)
 
รายชื่อหนังสือม.เทคโนโลยีมหานคร
1. Beyond captive breeding: Re- introduciton endangered mammals to the wild , Clarendon , 1991
2. Biotechnology and the conservation of genetic diversity : the proceedings of a symposium held at The Zoological Society of London , The Zoological Society of London , Oxford science Pub.,1992
3. Bird mingration : a general suryey , Derthold Peter Oxford University Press , 1993
4. Bird population studies : relevance to conservation and management , Oxford University Press , 1991
5. Embryoloy of dolphind : staging and ageing of embryos and fetuses of some cetaceans , sterba,Oldrich , Springer- verlag , 2000
6. Environmental physiology of the amphibians , The University of Chicago ,1992
7. Experimental and surgical technique in the rat , Waynforth ,H.B. , Academic Press , 1992
8. Laboratory animals : An introduction for exitnciton can be stopped , John Wiley 1995
9. Last animals at the zoo : how mass extinction can be stopped , Tudge,Colin , Oxford University Press , 1992
10. Marine mammals and noise , Richardson , W.John , Academic Pr. , 1995
11. Sturkie ?s avian physiology , Academic Pr. , 2000
12. Techniques for wildlife investigations : design and analysis of capture data , Skalski , John R . Academic press , 1992
13. The Asian Hornbills : Ecology and Conservation ,1998
14. The birdwatcher ?s handbook : a guide to the natural history of the birds of Bratain and Europe , Ehrlich, Paul R. , Oxford univ , 1994
15. The diversity of amphibians and reptiles : an introduction , Cloudsley-Thompson , John L. , Springer- Verlag ,1999
16. The proceedings of the 2nd Internationa Asian Hornbill workshop:10-18 Aprill 1996 Thailand , Pilai Poonswad, The Siam Society ,1998
17. Wildilife feeding and nutrition , Robbins,Charles T , Academic Press , 1993
18. Biology and diseases of the ferret , Fox, James G.Williams & Wilkins , 1998
19. Biology and medicine of rabbits and rodents, Harkness,John E. William & Wilkins , 1995
20. Bird-parasite interactions : ecology,evolution, and behaviour , Oxford university Press , 1991
21. Diseases of domestic guinea pigs , Richardson , V.C.G. Blackwell Science , Inc. , 2000
22. Diseases of domestic rabbits , Okerman,Lieve , Balckwell scientific , 1994
23. Diseases of small domestic rodents, Richardson,V.C.G., Blackwell Science , 1997
24. Exotic species , Cooper,John E. , Mosby-Wolfe , 1995
25. Experimental tumors in monkeys , Beniashvili, Dzhemali Sh. , CRC , 1994
26. Farming wapiti and red deer , Haigh,Jerry C. , Mosby, 1993
27. Manual of exotic pets , The British Small Animal Veterinary Association , 1991
28. Proceedings American Association of Zoo Veterinarians : Annual Conference November 3-8,1996 , American Association of Zoo Veterinarians
29. Proceedings American Association of Zoo Veterinarians : Annual conference october 26-30 1997 , Baer,C.K. ,1997
30. Proceedings American association of zoo veterinarian international association for aquatic animal medicine: joint conference New Orleans, Louisiana september 17-21,2000 , Veterinarians
31. Reptile medicine and surgery , Mader,Douhlas R., W.B. Saunders , 1996
32. The domestic rabbit , Sandford,J.C., Blackwell science , 1996
33. Zoo & wild animal medicine , W.B.Saunders , 1986
34. Zoo & wild animal mdicind : Current therapy Fowler, Murray E., W.B.Saunders company , 1999
35. Zoo and wild animal medicine : current therapy 3 , W.B.Saunders , 1993
Read more!